-
Notifications
You must be signed in to change notification settings - Fork 6
/
08s-allow-and-deny.md.erb
43 lines (26 loc) · 9.73 KB
/
08s-allow-and-deny.md.erb
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
---
title: การ Allow และ Deny
slug: allow-and-deny
date: 0008/01/02
number: 8.5
sidebar: true
contents: เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชัน callback แบบ Allow และ Deny|เข้าใจลำดับการเรียกใช้ฟังก์ชัน callback
paragraphs: 16
---
ระบบรักษาความปลอดภัยของ Meteor นั้น ยอมให้เราทำการเปลี่ยนแปลงกับฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องสร้างเมธอดขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง ในขณะที่เราทำการเปลี่ยนแปลงนั้น
เนื่องจากเราอาจจำเป็นต้องทำงานบางอย่างเพิ่มเติม เช่น ปรับแต่งข้อมูลข่าวด้วยฟิลด์พิเศษ และดำเนินการบางอย่างเมื่อ URL ของข่าวซ้ำกับที่มีอยู่แล้ว การใช้เมธอด `post` ในขณะที่กำลังสร้างข่าวก็ดูเหมาะสมดี
หรืออีกนัยหนึ่งคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องสร้างเมธอดใหม่เพื่ออัพเดทและลบข่าว เราแค่ตรวจสอบว่าผู้ใช้มีสิทธิในการทำแบบนั้นหรือไม่ ซึ่งทำได้ง่ายมากๆด้วยการใช้ฟังก์ชัน callback แบบ `allow` และ `deny`
การใช้ฟังก์ชัน callback เหล่านี้ทำให้เราสามารถระบุวิธีการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลได้ชัดเจนขึ้น โดยแค่กำหนดว่าการอัพเดทแบบไหนที่สามารถทำงานได้ก็พอ ซึ่งความสามารถทั้งหมดที่ว่ามานี้เราได้มาฟรีจากระบบบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว
### ฟังก์ชัน callback หลายตัว
เราสามารถกำหนดฟังก์ชัน callback แบบ `allow` กี่ตัวก็ได้เท่าที่จำเป็น ขอแค่ให้มี _ตัวใดตัวหนึ่ง_ คืนค่าเป็น `true` การเปลี่ยนแปลงที่รออยู่ก็จะเกิดขึ้นได้ โดยเมื่อ `Posts.insert` ถูกเรียกใช้จากเบราว์เซอร์ (ไม่ว่าจากในแอพหรือจากคอนโซล) เซิร์ฟเวอร์จะทำการตรวจค่า `insert` จากฟังก์ชัน allow ทั้งหมดจนกว่าจะพบตัวนึงที่มีค่าเป็นจริง และถ้าหาไม่พบเลย ก็จะไม่ยอมให้มีการทำงานเกิดขึ้น ทั้งยังคืนค่าผิดพลาด `403` กลับมาที่ไคลเอนต์ด้วย
ในทำนองเดียวกัน เราก็สามารถกำหนดฟังก์ชัน callback แบบ `deny` ได้หลายตัวเช่นกัน ซึ่งถ้ามี _ตัวใดตัวนึง_ คืนค่าเป็น `true` การเปลี่ยนแปลงก็จะถูกยกเลิก และค่าความผิดพลาด `403` ก็จะถูกส่งกลับมา ตรรกะแบบนี้หมายความได้ว่า การ `insert` ที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฟังก์ชัน callback แบบ `allow` `insert` อย่างน้อยหนึ่งตัว กับฟังก์ชัน callback แบบ `deny` `insert` ทุกๆตัวถูกตรวจสอบแล้ว
<%= diagram "allow_deny", "Note: n/e stands for Not Executed" %>
มองได้อีกแบบคือ Meteor จะทำการตรวจสอบฟังก์ชัน callback โดยเริ่มต้นจากแบบ `deny` แล้วจึงมาที่ `allow` และตรวจทีละตัวจนกว่าจะพบว่าตัวใดตัวนึงคืนค่าเป็น `true`
ตัวอย่างที่พบเสมอคือ มีการกำหนดฟังก์ชัน callback แบบ `allow()` ไว้สองตัว ตัวแรกคอยตรวจว่าข่าวนี้เป็นของผู้ใช้ปัจจุบันหรือไม่ ตัวที่สองตรวจว่าผู้ใช้ปัจจุบันเป็นผู้ดูแล (admin) หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ใช้ปัจจุบันเป็นผู้ดูแล ก็มั่นใจได้เลยว่าเค้าจะสามารถอัพเดทข่าวไหนก็ได้ เพราะว่าค่าที่ได้คืนจากฟังก์ชัน callback อย่างน้อยต้องเป็นจริงแน่ๆ
### การชดเชยความล่าช้า
ให้จำไว้เลยว่า เมธอดที่เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล (เช่น `.update()`) จะทำงานแบบชดเชยความล่าช้าเหมือนกับเมธอดอื่นๆด้วย อย่างเช่น ถ้าคุณพยายามลบข่าวที่ไม่ใช่ของคุณผ่านคอนโซลของเบราว์เซอร์ คุณจะเห็นว่าข่าวที่ลบจะหายไปแว้บนึงเพราะคอลเลคชั่นที่ไคลเอนต์ถูกลบข้อมูลไป แต่แล้วข่าวนั้นก็จะแสดงขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพราะเซิร์ฟเวอร์แจ้งมาว่าข่าวนั้นยังไม่ได้ถูกลบออกไป
จริงอยู่ที่การทำงานลักษณะนี้ไม่ใช่ปัญหาเมื่อคุณสั่งงานผ่านคอนโซล (ซึ่งจะว่าไป ถ้าผู้ใช้จะลองทำอะไรกับข้อมูลผ่านทางคอนโซล อะไรที่เกิดในเบราว์เซอร์ของ _พวกเค้า_ ก็ไม่ใช่ปัญหาของคุณ) แต่อย่างไรก็ตาม คุณต้องแน่ใจว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดกับหน้าจอการใช้งานของคุณ อย่างเช่น คุณจำเป็นต้องหาวิธีทำให้ปุ่มลบข่าว ไม่ปรากฏบนข่าวที่พวกเค้าไม่มีสิทธิลบ
ทั้งนี้ต้องขอบคุณ ความสามารถของการแชร์โค้ดให้ใช้งานกันได้ระหว่างไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ (อย่างเช่น คุณสามารถเขียนฟังก์ชัน `canDeletePost(user, post)` และวางมันไว้ในโฟลเดอร์ `/lib` ที่แชร์ระหว่างสองฝั่ง) ช่วยให้คุณไม่ต้องเขียนโค้ดมากเกินความจำเป็น
### สิทธิการใช้งานบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์
ที่ต้องจำอีกเรื่องคือ สิทธิการใช้งานของระบบจะถูกใช้เมื่อการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลถูกสั่งจากฝั่งไคลเอนต์เท่านั้น ส่วนบนเซิร์ฟเวอร์ Meteor จะสมมุติว่า การทำงานทุกอย่างได้รับการอนุญาตแล้ว
นั่นหมายความว่า ถ้าคุณจะเขียนเมธอดของ Meteor ชื่อ `deletePost` ให้ทำงานบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และให้ถูกเรียกใช้ได้จากฝั่งไคลเอนต์ ผลก็คือ ไม่ว่าใครก็สามารถลบข่าวไหนก็ได้ ซึ่งคุณคงไม่คิดที่จะทำอย่างนั้นถ้าคุณยังไม่ได้ใส่โค้ดตรวจสอบสิทธิของผู้ใช้ลงในเมธอดนั้นแล้ว